ชื่อพรรณไม้ (ท้องถิ่น) : แก้วเจ้าจอม kaeo chao chom (Bangkok)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Guaiacum officinale L.
ชื่อพ้อง : Guaiacum bijugum Stokes
ชื่อสามัญ : Guaiac wood, Lignum vitae, Roughbark lignum vitae.
วงศ์ : Zygophyllaceae
ตำแหน่งที่พบ (ระบุพิกัด GPS) :
ละติจูด 13.819573 ˚N ลองจิจูด 100.041181 ˚E
ละติจูด 13.820042 ˚N ลองจิจูด 100.041628 ˚E
ละติจูด 13.820273 ˚N ลองจิจูด 100.041220 ˚E
ละติจูด 13.820570 ˚N ลองจิจูด 100.041572 ˚E
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะวิสัย (habit) : ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลม ค่อนข้างหนาทึบ
ลำต้น : ลำต้นมีความสูง 10-15 เมตร เปลือกต้นขรุขระ สีเปลือกมีสีเขียวอมเทา ไม่พบน้ำยาง
ใบ : ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ใบย่อยเรียงแบบตรงกันข้าม มีลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่กว้างหรือรูปไข่กลับ แต่จะเบี้ยวเล็กน้อย ปลายใบมนอาจเบี้ยวเล็กน้อย โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบ ใบย่อยแต่ละใบมีขนาดไม่เท่ากัน ใบย่อยที่อยู่ช่วงปลายมีขนาดกว้าง 1.8-2 เซนติเมตร ยาว 3.2-3.5 เซนติเมตร ส่วนใบย่อยที่อยู่ช่วงโคนมีขนาดกว้าง 1.2-1.6 เซนติเมตร ยาว 2.5-2.7 เซนติเมตร ไม่มีขนปกคลุม หลังใบมีสีอ่อนกว่าท้องใบ
ดอก : ดอกเดี่ยว แต่อยู่รวมกันเป็นกระจุก 3-4 ดอก
ลักษณะกลีบเลี้ยง : กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่ กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเล็กน้อย มีขนปกคลุม
ลักษณะกลีบดอก : กลีบดอกมี 5 กลีบ ลักษณะรูปรีหรือรูปไข่ กลีบดอกมีสีฟ้าคราม หรือสีฟ้าอมม่วง
เกสรตัวผู้ : มีประมาณ 10 อัน ก้านชูอับเรณูเชื่อมติดกันบริเวณฐาน เกสรจะเรียงตัวเป็นวงล้อมรอบเกสรตัวเมีย อับเรณูมีสีเหลืองติดอยู่ที่ปลายก้านชูอับเรณู
เกสรตัวเมีย : มี 1 อัน มีสีเขียว
ผล : ผลเดี่ยว รูปหัวใจกลับ ขอบๆผลจะมีลักษณะคล้ายปีกหนา มีติ่งแหลมที่ด้านบนสุดของผล เมื่อผลแก่จะมีสีเหลืองหรือสีส้ม
เมล็ด : มี 1-2 เมล็ด เมล็ดรูปไต สีน้ำตาล
ฤดูการออกดอกและติดผล : ช่วงออกดอกเดือนธันวาคม – เดือนเมษายนปีถัดไป
เขตการกระจายพันธุ์ : –
การใช้ประโยชน์ : นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ แก่นไม้และเนื้อไม้นิยมนำมาใช้ทำส่วนประกอบของเรือเดินทะเลหรือเป็นส่วนประกอบของเครื่องจักรในโรงงานในไทย