ไทรย้อยใบแหลม

ไทรย้อยใบแหลม

ชื่อพรรณไม้ (ท้องถิ่น) : ไทรย้อยใบแหลม sai yoi bai laem, ไทรย้อย sai yoi (Bangkok, Trat);  ไทรกระเบื้อง   sai kra bueang (Prachuap Khiri Khan); จาเรย cha-roei (khmer)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus benjamina L.

ชื่อพ้อง : Ficus benjamina var. benjamina

ชื่อสามัญ : Golden fig, Weeping fig, Benjamin’s fig

วงศ์ : Moraceae

ตำแหน่งที่พบ (ระบุพิกัด GPS) : ละติจูด 13.819699 ˚N ลองจิจูด 100.041751 ˚E

ละติจูด 13.819856 ˚N ลองจิจูด 100.040885 ˚E

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะวิสัย (habit) : ไม้ต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ เรือนยอดแผ่กว้าง

ลำต้น : ลำต้นสูง 10-12 ม. เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล พบน้ำยางสีขาวข้น

ใบ : .การเรียงตัวของใบเป็นแบบสลับ ขนาดกว้าง 2.5-5 ซม. ยาว 20-20.5 ซม. ก้านใบยาว 1.5-2 ซม. ใบรูปรีแกมรูไข่ โคนใบรูปลิ่ม ปลายใบแหลมยาวคล้ายหาง ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบเรียบหนา ไม่มีขนปกคลุม ใบแก่มีสีเขียวเข้ม หลังใบสีเข้มกว้าท้องใบ เส้นใบเป็นร่างแห

ดอก : ดอกของไม้ตระกูลไทรจะออกเป็นช่อดอกทรงกลมคล้ายผล เมื่อผ่าดูภายในจะเห็นดอกย่อยเป็นจำนวนมาก โดยเป็นดอกแยกเพศ มีทั้งดอกเพศผู้ และเพศเมีย อยู่รวมกันในช่อดอกทรงกลมนั้น

ผล : ผลเป็นผลกลุ่มที่เกิดจากช่อดอกทรงกลม เมื่อผลสุกจะมีสีแดง หรือชมพูอมส้ม

เมล็ด : จำนวนมาก เมล็ดกลมมีสีเหลืองอมน้ำตาล

ฤดูการออกดอกและติดผล :

เขตการกระจายพันธุ์ : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงจีนตอนใต้

การใช้ประโยชน์ : นิยมปลูกเป็นไม้ประดับที่ให้ร่มเงา