แคแสด

แคแสด

ชื่อพรรณไม้ (ท้องถิ่น) : แคแสด khae saet, แคแดง khae daeng, ยามแดง yam daeng (Bangkok)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spathodea campanulata P.Beauv.

ชื่อพ้อง : Spathodea campanulata subsp. campanulata

ชื่อสามัญ : African tulip tree, Fore bell, Fountain tree, Nandi flame, Pichkari

วงศ์ : Bignoniaceae

ตำแหน่งที่พบ (ระบุพิกัด GPS) : ละติจูด 13.819714˚N ลองจิจูด 100.04024˚E

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะวิสัย (habit) : ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ผลัดใบแต่จะไม่ผลัดใบพร้อมกันทั้งต้น

ลำต้น : ลำต้นสูง 15-20 ซม. เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกเป็นร่อง ไม่พบน้ำยาง

ใบ : ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ มีขนสั้นๆสีขาวปกคลุมใบอ่อน พบขนปกคลุมใบแก่น้อยมาก ใบย่อยเรียงตัวแบบตรงข้าม รูปรีถึงรูปไข่ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย ฐานหรือโคนใบเบี้ยว ก้านใบย่อยยาว 0.2-0.3 ซม. ขนาดใบย่อยกว้าง 4-5.5 ซม. ยาว 8-12 ซม. ใบอ่อนมีสีเขียวอ่อน ใบแก้มีสีเขียวเข้ม เส้นใบเป็นแบบร่างแห

ดอก : ดอกช่อแบบกจะจุก ช่อตั้ง ดอกย่อยจำนวนมาก และดอกย่อยแต่ละดอกจะบานไม่พร้อมกัน

ลักษณะกลีบเลี้ยง : มีสีน้ำตาลอมเขียวหุ้มดอกตูม และจะแยกออกเมื่อดอกบาน โดยแยกออกทางเดียว

ลักษณะกลีบดอก : กลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายกลีบดอกจะแยกเห็นเป็น 5 กลีบ ขอบหยัก ลักษณะกลีบดอกคล้ายรูประฆัง มีสีส้มแสดหรือแดงแสด

เกสรตัวผู้ : มี 4 อัน ก้านชูอับเรณูยาวสีส้มอมเหลือง อับเรณูมีลักษณะยาวสีแดงแกมน้ำตาล

เกสรตัวเมีย : มี 1 อัน สีส้มอมเหลือง

ผล : ผลแบบฝัก ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่สีน้ำตาล เมื่อผลแห้งแล้วจะแตกแนวเดียว

เมล็ด : เมล็ดสีน้ำตาลอ่อนถึงสีขาว เป็นเมล็ดแบบมีปีก อาศัยลมในการกระจายพันธุ์

ฤดูการออกดอกและติดผล : ช่วงเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ปีถัดไป

เขตการกระจายพันธุ์ : กระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตร้อน

การใช้ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับ ดอก สามารถนำไปประกอบอาหารได้