กุ๊ก

กุ๊ก

ชื่อพรรณไม้ (ท้องถิ่น) : กุ๊ก กอกกั๋น ช้าเกาะ ช้างโน้ม ตะคร้ำ หวีด อ้อยช้าง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lannea coromandelica (Houtt.) Merr.

ชื่อพ้อง : Calesium grande Kuntze, Dialium coromandelicum Houtt., Lannea grandis Engl., Lannea wodier (Roxb.) Adelb., Lannea wodier (Roxb.) Parker, Odina pinnata Rottler, Odina wodier Roxb., Rhus odina Buch.-Ham. ex Wall.

วงศ์ : Anacardiaceae

ตำแหน่งที่พบ (ระบุพิกัด GPS) :  ละติจูด 13.820195 ˚N ลองจิจูด 100.040547 ˚E

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะวิสัย (habit) :  ไม้ต้นผลัดใบ ขนาดกลาง

ลำต้น : สูง 7–15 เมตร เปลือกต้นเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ด สีน้ำตาลอ่อนแกมเทา เปลือกในมียางเหนียว กิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่ม

ใบ :  ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงเวียน ความยาวใบประกอบ 10-30 เซนติเมตร ก้านใบประกอบยาว 6-8 เซนติเมตร ใบย่อย 5-17 ใบ เรียงตรงกันข้าม ใบย่อยรูปไข่ ขนาด 3-4 x 6-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลมถึงเรียงแหลม โคนกลม ขอบเรียบหรือบางครั้งหยักมน มีขนสั้นนุ่มรูปดาวทั้งด้านบนและด้านล่าง ใบอ่อนมีสีน้ำตาลทองหรือน้ำตาลแดง

ดอก :  ต้นแยกเพศ ต้นเพศผู้มีช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ยาว 10-25 เซนติเมตร ต้นเพศเมียช่อดอกสั้นและแตกแขนงน้อยกว่า ยาวได้ถึง 15 เซนติเมตร ออกที่ซอกใบ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมี 4-5 กลีบ สีเหลืองอ่อน

ผล :  ผลแบบผนังผลชั้นในแข็ง รูปไตแบน รูปสี่เหลี่ยมคางหมู หรือรูปคล้ายสี่เหลี่ยมมุมฉาก ถึงกลม กว้างประมาณ 6 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร

ฤดูการออกดอกและติดผล : ออกดอกและผลประมาณเดือน กรกฎาคม-มีนาคมของปีถัดไป

การใช้ประโยชน์ :  ในอินเดีย ใช้เปลือกไม้ย้อมแห ยางไม้ใช้ในงานพิมพ์ลงลายบนผืนผ้าฝ้าย ใบอ่อนและยอดอ่อนใช้เป็นอาหาร เปลือกมีรสขมใช้สมานแผลและห้ามเลือด เป็นยาธาตุหรือช่วยเจริญอาหาร ใช้แก้ปวด รักษาบาดแผล รอยฟกเช้า และอื่นๆ

ภาพ ผล จาก http://www.fca16mr.com/upload/files/technical/%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B9%8A%E0%B8%81_%E0%B8%9C%E0%B8%A5.JPG

ดอก จาก http://www.fca16mr.com/upload/files/technical/%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%812.jpg