จันอิน

จันอิน

ชื่อพรรณไม้ (ท้องถิ่น) :  จัน chan (General); จันขาว chan khao, จันลูกหอม chan luk hom, จันอิน chan in, จันโอ chan o, อิน in (Central)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros decandra Lour.

ชื่อพ้อง :  Diospyros packmannii C.B.Clarke

ชื่อสามัญ :  –

วงศ์ :  Ebenaceae

ตำแหน่งที่พบ (ระบุพิกัด GPS) :  ละติจูด 13.818985 ˚N ลองจิจูด 100.041301 ˚E

ละติจูด 13.818062 ˚N ลองจิจูด 100.040263 ˚E

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะวิสัย (habit) :  ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ

ลำต้น : ลำต้นสูง 10-20 เมตร เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาลเข้มอมเทา หรือสีดำ ไม่พบน้ำยาง

ใบ :  ใบเดี่ยว การเรียงตัวของใบเป็นแบบสลับ ขนาดของใบกว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 7-10 เซนติเมตร ลักษณะของใบเป็นรูปรี ขอบใบเรียบ โคนใบมน ปลายใบแหลม  แผ่นใบบาง มีสีเขียวเข้มและเป็นมัน มีขนละเอียดสั้นๆสีขาวปกคลุมที่ผิวใบ

ดอก :  ดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ ดอกแยกเพศแยกต้นกัน ดอกเพศผู้จะออกเป็นช่อขนาดเล็ก ดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยวจะออกตามกิ่ง สีของดอกจะมีสีขาวนวล

ลักษณะกลีบเลี้ยง :  มี 4-5 กลีบ ไม่เชื่อมติดกัน เรียงคล้ายรูปถ้วย สีน้ำตาลอ่อนอมเขียว มีขนละเอียดสั้นๆปกคลุมสีขาว

ลักษณะกลีบดอก :  ดอกเพศเมีย มีกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นๆ มี 4-5 กลีบเชื่อมติดกัน ดอกเพศผู้ มีกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปคนโท สีขาวนวล

ดอกเพศผู้ : เกสรเพศผู้มี 14-18 อัน

ดอกเพศเมีย :  รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ

ผล :  ผลเดี่ยว ผลสดแบบเบอร์รี่ มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ ผลอินจันจะมีอยู่สองแบบคือ ลักษณะของผลเป็นรูปกลมแป้น ไม่มีเมล็ดหรือมีเมล็ดลีบ ผลมีรอยบุ๋มตรงกลาง มีรสฝาดหวาน มีกลิ่นหอม จะเรียกว่า ลูกจัน ส่วนผลที่มีลักษณะของผลเป็นรูปกลมและมีเมล็ด 2-3 เมล็ด ไม่มีรอยบุ๋ม มีรสฝาดหวาน จะเรียกว่า ลูกอิน

ฤดูการออกดอกและติดผล :

เขตการกระจายพันธุ์ :  พบตามป่าดงดิบ ป่าโปร่งทั่วไป

การใช้ประโยชน์ :  ปลูกเป็นไม้ประดับ ให้ร่มเงา และเป็นไม้มงคล เนื้อไม้แข็งจึงสามารถนำมาทำถ่านและฟืนได้ นอกจากนี้ยังนำเนื้อไม้มาทำเฟอร์นิเจอร์