ชื่อพรรณไม้ (ท้องถิ่น) : ชัยพฤกษ์ chaiya phruek (Central)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia javanica L.
ชื่อพ้อง : –
ชื่อสามัญ : Common pink Cassia
วงศ์ : Fabaceae
ตำแหน่งที่พบ (ระบุพิกัด GPS) : ละติจูด 13.819121˚N ลองจิจูด 100.041329˚E
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะวิสัย (habit) : ไม้ต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบ ทรงพุ่ม แตกกิ่งด้านบน
ลำต้น : ลำต้นสูง 15-25 ม. เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล พบรอยแผลเป็นแนวขวาง ไม่พบน้ำยาง
ใบ : ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ปลายคู่ ใบย่อยเรียงแบบตรงกันข้าม จำนวนใบย่อย 7-12 ใบ รูปร่างใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปไข่แกมรี ฐานหรือโคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ขนาดของใบกว้าง 2 เซนติเมตร ยาว 3.5-5.5 เซนติเมตร มีขนปกคลุมเป็นขนละเอียด ใบสีเขียวสด หลังใบสีเข้มกว่าท้องใบ ใบค่อนข้างเหนียว ไม่พบน้ำยาง
ดอก : ดอกช่อ แบบช่อเชิงลด ก้านช่อดอกใหญ่ ดอกย่อยสีชมพู
ลักษณะกลีบเลี้ยง : มี 4 กลีบ มีสีแดงอมน้ำตาล ลักษณะของกลีบเลี้ยงเป็นรูปไข่ ปลายแหลม
ลักษณะกลีบดอก : มี 5 กลีบ มีสีชมพูหรือขาวอมชมพู ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปไข่กลับ
เกสรตัวผู้ : มี 9-12 อัน มีสีเหลือง ลักษณะโค้งงอ มีเกสรตัวผู้ 3 อันยาว ความยาวใกล้เคียงกับ style ของเกสรตัวเมีย
เกสรตัวเมีย : มีลักษณะเรียว มีสีเขียว style โค้ง
ผล : ผลเป็นฝักยาวรูปทรงกระบอก ไม่มีขนปกคลุม ผลมีผิวเรียบ ฝักอ่อนมีสีเขียว เมื่อฝักแก่จะมีสีน้ำตาลเข้มถึงสีดำ เมื่อแก่แล้วผลหรือฝักจะไม่แตก
เมล็ด : มีเมล็ดจำนวนมาก ลักษณะกลมแบน ผิวเมล็ดเรียบเป็นมัน ไม่มีขนปกคลุมและมีสีน้ำตาลอมแดง
ฤดูการออกดอกและติดผล : ช่วงเดือนเมษายน – เดือนกรกฎาคม
การใช้ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับ บางส่วนใช้ทำยาสมุนไพร เช่น ฝัก ใช้รักษาอาการท้องผูก ระบายพิษไข้ ใช้พอกแก้ปวดได้ เนื้อในฝักใช้เป็นยาระบายได้