ประดู่บ้าน

ประดู่บ้าน

ชื่อพรรณไม้ (ท้องถิ่น) :  ประดู่บ้าน pradu ban, ประดู่กิ่งอ่อน pradu king on, ประดู่ลาย pradu lai (Central); ดู่บ้าน du ban (Northern); สะโน sa-no (Malay-Narathiwat)

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Pterocarpus indicus Willd.

ชื่อพ้อง :  Pterocarpus indicus R. Vig.

ชื่อสามัญ :  Angsana.

วงศ์ :  Fabaceae

ตำแหน่งที่พบ (ระบุพิกัด GPS) :

ละติจูด 13.819714˚N ลองจิจูด 100.041602˚E

ละติจูด 13.819568˚N ลองจิจูด 100.0409770˚E

ละติจูด 13.820119 °N  ลองจิจูด 100.040158 °E

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะวิสัย (habit) :  ไม้ต้นขนาดกลาง ผลัดใบ

ลำต้น : ลำต้นสูง 15-30 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกเป็นร่องลึก พบน้ำยางจำนวนมาก

ใบ :  ใบประกอบแบบขนนก ปลายคี่ ส่วนใบย่อยมีการเรียงตัวแบบสลับ ลักษณะของใบรูปไข่ถึงรูปขนาน  ขอบใบเรียบ โคนใบมนหรือค่อนข้างแหลม ปลายใบแหลม ขนาดของใบกว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 4-13 เซนติเมตร มีขนสั้นๆปกคลุมบริเวณด้านท้องใบมากกว่าด้านหลังใบ ใบแก่มีสีเขียวเข้ม

ดอก :  ดอกช่อแบบช่อกระจะ ดอกมีสีเหลือง ช่อดอกมีขนาดใหญ่

ลักษณะกลีบเลี้ยง : มี 5 กลีบ เชื่อมติดกันคล้ายถ้วยสีเขียว

ลักษณะกลีบดอก : มี 5 กลีบ ลักษณะกลีบเป็นรูปผีเสื้อ กลีบดอกมีสีเหลือง ขอบกลีบดอกมีลักษณะเป็นคลื่น

เกสรตัวผู้ :  มี 10 อัน  ก้านชูอับเรณูเชื่อมติดกัน เป็น 2-3 กลุ่ม

เกสรตัวเมีย : มีเพียง 1 อัน

ผล : ผลแบบ samaroid เมื่อผลแห้งแล้วไม่แตก ผลสดมีสีเขียวอ่อน ผลแก่จะมีสีน้ำตาล ขอบผลมีลักษณะคล้ายปีก อาศัยลมช่วยในการกระจายพันธุ์ พบขนละเอียดปกคลุม

เมล็ด : มี 1 เมล็ด ลักษณะเป็นรูปไต สีของเมล็ดเป็นสีน้ำตาล

ฤดูการออกดอกและติดผล : ดอกจะออกช่วงมีนาคม-พฤษภาคม

เขตการกระจายพันธุ์ : พบตามป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรังในทุกภาค รวมถึงมีการปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงาทั่วไป

การใช้ประโยชน์ :  ปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้ถนน ประดู่เป็นไม้เนื้อแข็ง เนื้อไม้มีสีแดงอมเหลือง มีลวดลายสวยงาม ทนทาน นิยมนำมาทำพื้นบ้าน เสาบ้าน เกวียน เครื่องเรือนและด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ เปลือกและแก่นให้สีน้ำตาลใช้ย้อมผ้าและให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง

คุณค่าทางเภสัชพฤกษศาสตร์ ดังนี้

– ประดู่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย แก้อาการปวด ทำให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว ยับยั้งการแบ่งเซลล์ ยับยั้งเอนไซม์ Ornithine decarboxylase และยับยั้ง Plasmin ออกฤทธิ์คล้ายแลคติน ทำให้เม็ดเลือดแดงเกาะกลุ่มกัน