ชื่อพรรณไม้ (ท้องถิ่น) : ปีบ pip, กาซะลอง ka salong, กาดสะลอง kat salong (Northern); เต็กตองโพ่ tek-tong-pho (Karen-Kanchanaburi)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Millingtonia hortensis L.
ชื่อพ้อง : Bignonia cicutaria K.D.Koenig ex Mart.
ชื่อสามัญ : Indian cork tree, Tree jasmine.
วงศ์ : Bignoniaceae
ตำแหน่งที่พบ (ระบุพิกัด GPS) :
ละติจูด 13.820084 ˚N ลองจิจูด 100.040272 ˚E
ละติจูด 13.820049 ˚N ลองจิจูด 100.040235 ˚E
ละติจูด 13.819713 ˚N ลองจิจูด 100.040030 ˚E
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะวิสัย (habit) : ไม้ต้นขนาดกลาง ทรงพุ่มหว้า ไม่ผลัดใบ
ลำต้น : ลำต้นสูง 15-20 เมตร เปลือกต้นสีเทา ขรุขระแตกเป็นร่องลึก มีช่องอากาศ
ใบ : ใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น มีความกว้าง 13-20 เซนติเมตร ยาว 16-26 เซนติเมตร ก้านใบยาว 3.5-6 เซนติเมตร ใบย่อยมี 4-6 คู่ เรียงตัวตรงข้ามกัน มีความกว้าง 2.5-3 เซนติเมตร ยาว 4-5 เซนติเมตร ลักษณะใบย่อยเป็นรูปไข่แกมรูปหอก ปลายใบแหลม ฐานใบเป็นรูปลิ่ม ขอบใบหยักเป็นซี่หยาบๆ ใบบาง ไม่มีขนปกคลุม
ดอก : ดอกช่อแบบช่อกระจุกแยกแขนง ความยาวของช่อดอกยาว 10-40 เซนติเมตร ดอกทยอยบานครั้งละจำนวนน้อย
ลักษณะกลีบเลี้ยง : กลีบเลี้ยงมีขนาดเล็กมาก โคนกลีบเชื่อมติดกันยาว 2-4 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็นกลีบกลม ๆ 5 กลีบ ขอบม้วนออก
ลักษณะกลีบดอก : มีสีขาว กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว 6 เซนติเมตร ปลายหลอดแยกเป็น 5 กลีบ ลักษณะกลีบดอกเป็นรูปขอบขนาน
เกสรตัวผู้ : มี 4 อันหรือมีสองคู่ แต่ละคู่จะยาวไม่เท่ากัน อับเรณูมีสีเหลือง
เกสรตัวเมีย : มีเพียง 1 อยู่เหนือวงกลีบ
ผล : ผลลักษณะเป็นฝักแบนยาว สีเขียว เมื่อผลแห้งแล้วจะแตก
เมล็ด : มีจำนวนมาก เมล็ดมีปีกสีขาว
ฤดูการออกดอกและติดผล : ออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายน – เดือนพฤษภาคม
เขตการกระจายพันธุ์ : ป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้งทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก และทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การใช้ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับสวน ดอกมีกลิ่นหอม และนำมาใช้เป็นยารักษาโรค เช่น ดอก นำมาทำเป็นยาบำรุงโลหิต บำรุงกำลัง ทำเป็นยารักษาไซนัสอักเสบ ยาแก้ลม เนื้อไม้สามารถนำมาทำเป็นเครื่องเรือนตกแต่งบ้าน เป็นต้น