ชื่อพรรณไม้ (ท้องถิ่น) : ตีนเป็ด tin pet (Central); พญาสัตบรรณ phaya sattaban (Central) สัตตบรรณ sattaban (Central, Khmer-Chanthaburi); หัสบรรณ hatsaban (Kanchanaburi); กะโน้ะ ka-no (Karen- mae Hong Son); จะบัน cha-ban (Khmer-Prachin Buri); ยางขาว yang khao (Lampang); ตีนเป็ดดำ tin pet dam (Narathiwat); บะซา ba-sa, ปูลา pu-la, ปูแล pu-lae (Pattani, Malay-Yala)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alstonia scholaris (L.) R. Br.
ชื่อพ้อง : Echites scholaris L.
ชื่อสามัญ : Devil tree, White cheesewood, Devil bark, Dita bark, Black board tree
วงศ์ : Apocynaceae
ตำแหน่งที่พบ (ระบุพิกัด GPS) : ละติจูด 13.818701 ˚N ลองจิจูด 100.041158 ˚E
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะวิสัย (habit) : ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ
ลำต้น : ลำต้นมีความสูง 25-30 เมตร เปลือกลำต้นแตกเป็นร่องตามแนวยาว สีเปลือกลำต้นมีสีเทาอมเหลือง หรือสีน้ำตาล พบน้ำยางมาก สีของน้ำยางมีสีขาว
ใบ : ใบเดี่ยว ใบเรียงเป็นวงรอบกิ่ง 5-8 ใบ ขนาดใบยาว 29-30 เซนติเมตร กว้าง 7.5-8 เซนติเมตร ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายใบมน โคนใบเป็นรูปลิ่ม ขอบใบและผิวใบเรียบ ไม่มีขนปกคลุม ใบอ่อนท้องใบและหลังใบมีสีใกล้เคียงกัน คือสีเขียวอ่อน ส่วนใบแก่สีหลังใบจะเข้มกว่าท้องใบ เส้นใบเรียงตัวตั้งฉากกับเส้นกลางใบ พบน้ำยางสีขาว
ดอก : ดอกช่อแบบช่อกระจุก ช่อคล้ายช่อดอกเข็ม ออกตามปลายกิ่ง ดอกย่อยมีขนาดเล็ก
ลักษณะกลีบเลี้ยง : มี 5 กลีบ ขนาดเล็กสีเขียว มีขนปกคลุมขนาดเล็กสีขาว
ลักษณะกลีบดอก : กลีบดอกรูปไข่ มีหยักเว้า ขนาดกลีบดอกกว้าง 1-1.9 มิลลิเมตร ยาว 1.5-2.3 มิลลิเมตร กลีบดอกมีสีขาว หรือสีเหลืองอมเขียว มีขนปกคลุมสีขาว
เกสรตัวผู้ : มีขนาดเล็ก อับเรณูมีขนปกคลุม
เกสรตัวเมีย : มีขนาดเล็กมาก มีเพียง 1 อันต่อ 1 ดอกย่อย
ผล : ลักษณะผลเป็นผลฝัก กลมยาว มีสีขาวอมเขียว ผิวฝักเกลี้ยง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 ซม. ยาว 30-40 ซม. ปลายผลมีลักษณะมนกลม ฝักแก่มีสีเทาน้ำตาล เมื่อผลแห้งแล้วจะแตก โดยแตกตามแนวตะเข็บ 2 ซีก ซ้าย-ขวา
เมล็ด : ภายในฝักมีเมล็ดจำนวนมาก มีขนยาวอ่อนนุ่มเป็นกระจุกที่ปลายทั้งสองข้าง เพื่อให้เหมาะต่อการกระจายพันธุ์โดยลม
ฤดูการออกดอกและติดผล : ออกดอกช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม ติดผลเช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ผลเริ่มแตกในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม
เขตการกระจายพันธุ์ : ในประเทศไทยพบได้ทั่วไปในทุกภาค เป็นไม้ที่ชอบความชื้นสูง ดินระบายน้ำดี พบมากบริเวณใกล้แหล่งน้ำในป่าเบญจพรรณ หรือชายป่าพรุ ไม่พบในป่าเต็งรังหรือบริเวณที่สูง
การใช้ประโยชน์ : นิยมปลูกเป็นไม้มงคล และไม้ประดับ เพื่อเป็นร่มเงา เนื้อไม้นำมาแปรรูปใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน อาทิ เก้าอี้ โต๊ะ ไม่ตะเกียบ เป็นต้น แต่ไม่นิยมทำเป็นไม้ก่อสร้าง เนื่องจากไม่คงคงทน เนื้อไม้มีความหนาแน่นต่ำ