ชื่อพรรณไม้ (ท้องถิ่น) : พิกุล phikun (Central); พิกุลเขา phikun khao ; กุน kun (Peninsular); แก้ว kaeo (Loei, Northern); ซางดง sang dong (Lampang) ; พิกุลเถื่อน phikun thuean
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mimusops elengi L.
ชื่อพ้อง : Mimusops elengi Bojer
ชื่อสามัญ : Bullet wood, Spanish cherry
วงศ์ : Sapotaceae
ตำแหน่งที่พบ (ระบุพิกัด GPS) : ละติจูด 13.819649˚N ลองจิจูด 100.040613˚E
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะวิสัย (habit) : ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไมผลัดใบ
ลำต้น : ลำต้นสูง 10-25 ม. เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทา แตกเป็นร่องตามแนวยาว ลำต้นพบน้ำยางสีขาว
ใบ : ใบเดี่ยว การเรียงตัวของใบเรียงแบบสลับ ขนาดของใบกว้าง 2-6.5 ซม. ยาว 5-15 ซม. ก้านใบยาว 4-6 ซม. ใบรูปขอบขนาดแกมรูปไข่ ฐานหรือโคนใบมน ปลายใบแหลมมีติ่งเล็กน้อย ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบเหนียวหนา มีสีเขียวสด เป็นมัน
ดอก : ดอกออกเดี่ยวๆหรือออกเป็นช่อ แบบกระจุก ดอกบานไม่พร้อมกัน
ลักษณะกลีบเลี้ยง : กลีบเลี้ยงมี 2 ชั้น ชั้นละ 4 กลีบ รวม 8 กลีบ กลีบเลี้ยงด้านนอกมีสีน้ำตาล มีขนอ่อนๆปกคลุม
ลักษณะกลีบดอก : มีขนาดเล็กกว่ากลีบเลี้ยง มี 8 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมกันเล็กน้อย กลีบดอกมีสีขาวนวล มีกลิ่นหอม
เกสรตัวผู้ : เกสรตัวผู้มี 8 อัน อับเรณูยาวกว่าก้านชูอับเรณู มีขนปกคลุม
เกสรตัวเมีย : รังไข่มีจำนวน 8 ช่อง
ผล : ผลสด รูปไข่ ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีเหลืองถึงส้ม ขนาดของผลกว้าง 1.5 ซม. ยาว 2.5-3 ซม. ผลมีขนปกคลุม
เมล็ด : เมล็ดแข็ง แบนรี สีน้ำตาลถึงดำ
ฤดูการออกดอกและติดผล : ออกดอกและติดผลเกือบตลอดทั้งปี
การใช้ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับ และนำส่วนต่างๆมาทำเป็นยาสมุนไพรได้ ตำรายาไทย ดอก มีกลิ่นหอมเย็น ใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง แก้ลม แก้ไข้ บำรุงหัวใจ แก้ปวดหัว แก้เจ็บคอ แก้ร้อนใน ฝาดสมาน แก้ท้องเสีย บำรุงโลหิต แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ผลดิบและเปลือก ฝาดสมาน แก้ไข้ แก้ท้องเสีย เปลือกต้น รสฝาด ใช้ปรุงเป็นยาแก้เหงือกอักเสบ ใบ รสเบื่อฝาด แก้กามโรค เมล็ด ช่วยขับปัสสาวะ รักษาท้องผูก ราก มีรสขมเฝื่อน เข้ายาบำรุงโลหิต แก้ลม ตำรายาพื้นบ้านอีสาน ใบ ฆ่าเชื้อกามโรค เปลือก รักษาโรคฟัน กระพี้ แก้เกลื้อน แก่น เป็นยาบำรุงโลหิต รากและดอก ปรุงเป็นยาแก้ลม ขับเสมหะที่เกิดจากลม