ชื่อพรรณไม้ (ท้องถิ่น) : ยูคาลิปตัส yukhalip tat (General); น้ำมันเขียว nam man khiao, มันเขียว man khiao (Bangkok); โกศจุฬารส kot chula rot.
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucalyptus globulus Labill.
ชื่อพ้อง : Eucalyptus globulus var. bicostata (Maiden, Blakely & Simmonds) Ewart
ชื่อสามัญ : Tasmanian blue gum, Southern blue gum, Blue gum.
วงศ์ : Myrtaceae
ตำแหน่งที่พบ (ระบุพิกัด GPS) : ละติจูด 13.819607 ˚N ลองจิจูด 100.041488 ˚E
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะวิสัย (habit) : ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เรือนยอดเป็นพุ่ม หนาทึบ ไม่ผลัดใบ
ลำต้น : ลำต้นมีความสูง 10-25 เมตร เปลือกลำต้นเรียบ มีสีเทาสลับสีขาว อาจพบสีน้ำตาลแดงบางแห่งของเปลือกต้น เปลือกจะหลุดลอกออกเป็นแผ่น พบสารคีโน ซึ่งมีลักษณะคล้ายยาง มีสีแดง จะไหลออกมาจากเปลือกหรือเนื้อไม้
ใบ : ใบเดี่ยว การเรียงตัวของใบเป็นแบบสลับ รูปร่างของเป็นรูปหอก ขนาดกว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาว 15-20 เซนติเมตร ปลายและโคนใบแหลม แผ่นใบหนาและเหนียว มีสีเขียวอมเทาหรือสีขาวนวลและมองเห็นเส้นกลางใบชัดเจนทั้งสองด้าน เส้นกลางใบเป็นแบบร่างแห ใบมีนํ้ามันหอมระเหย
ดอก : ดอกช่อแบบช่อกระจุกซี่ร่ม ช่อดอกจะออกบริเวณปลายกิ่งหรือออกตามซอกใกล้ๆปลายกิ่ง ดอกย่อยมี 5-7 ดอก ไม่มีก้านดอกย่อย
ลักษณะกลีบเลี้ยงและกลีบดอก : เชื่อมติดกัน สีเขียว มีลักษณะเป็นรูปถ้วย
เกสรตัวผู้ : มีจำนวนมาก สีขาว
เกสรตัวเมีย : มีเพียง 1 อัน อยู่ใต้วงกลีบ สีเขียวอมเหลือง
ผล : ผลเดี่ยว มีสีเขียว เมื่อสุกจะมีสีนํ้าตาล ผลแห้งแล้วแตก โดยแตกด้านบนเป็น 4 ส่วน ให้เมล็ดออกมา เมล็ด : เมล็ดกลม สีนํ้าตาลเข้ม ขนาดเล็กจำนวนมาก
ฤดูการออกดอกและติดผล : ติดผลช่วงเดือนเมษายน-กรกฎาคม
เขตการกระจายพันธุ์ : มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่หมู่เกาะมินดาเนา เซลีเบส ปาปัวนิวกินี ในพื้นที่ชุ่มที่มีน้ำขังในเขตร้อน
การใช้ประโยชน์ : เนื้อไม้นำมาทำกระดาษ ใบสามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมันได้ ทำน้ำยาหอมระเหยไอระเหยแก้หวัด ลำต้นสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุในการก่อสร้าง เสาเข็ม ทำกระดาษสร้างบ้านเรือน ทำเครื่องเรือน เครื่องใช้สอย เผาถ่าน เปลือกของยูคาลิปตัสชนิดอื่นมีสารแทนนิน ซึ่งใช้สำหรับฟอกหนังและย้อมเส้นใย น้ำมันยูคาลิปตัส สามารถนำไปใช้อย่างกว้างขวาง เช่น ในน้ำหอม, สบู่, ยา, ลูกกวาด, และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด