ชื่อพรรณไม้ (ท้องถิ่น) : สัก sak (General), เคาะเยียโอ kho-yia-o (Lawa-Chiang Mai); ปายี้ pa-yi (Karen-Kanchanaburi); ปีฮี pi-hi, ปีฮือ pi-hue, เป้อยี poe-yi (Karen-Mae Hong Son); เส่บายี้ se-ba-yi (Karen-Kamphaeng Phet)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L. f.
ชื่อพ้อง : Tectona grandis f. abludens Koord. & Valeton
ชื่อสามัญ : Teak.
วงศ์ : Lamiaceae
ตำแหน่งที่พบ (ระบุพิกัด GPS) : ละติจูด 13.819762 ˚N ลองจิจูด 100.040233 ˚E
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะวิสัย (habit) : ไม้ต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบในฤดูร้อน
ลำต้น : ลำต้นสูง 20-30 เมตร เปลือกต้นหนา แตกเป็นร่องเล็กๆ สีเทาหรือสีน้ำตาลอ่อนแกมเทา ไม่พบน้ำยาง
ใบ : ใบเดี่ยว การเรียงตัวของใบเป็นแบบตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปไข่กลับ ปลายใบมีติ่งแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย ขนาดของใบกว้าง 12-35 เซนติเมตร ยาว 15-60 เซนติเมตร ด้านท้องใบมีสีเขียวอ่อนมีขนปกคลุม ก้านใบยาว 1-5 เซนติเมตร เส้นใบเป็นร่างแห
ดอก : ดอกช่อ โดยช่อดอกจะออกตามซอกใบและปลายยอด ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกย่อยมีขนาดเล็ก
ลักษณะกลีบเลี้ยง : มี 6 กลีบ เชื่อมติดกัน มีสีน้ำตาลอมเขียว มีขนเล็กๆสีขาวปกคลุม
ลักษณะกลีบดอก : มี 6 กลีบ สีเขียวนวล โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดและมีขนทั้งด้านนอกและด้านใน
เกสรตัวผู้ : มี 5-6 อัน ก้านชูอับเรณูขนาดเล็ก สีขาว ยื่นยาวพ้นจากดอก อับเรณูขนาดเล็ก สีขาวหรือขาวอมเหลือง
เกสรตัวเมีย : มี 1 อัน ที่รังไข่มีขนปกคลุมหนาแน่น
ผล : ผลเดี่ยว ลักษณะของผลเป็นทรงกลมแป้น มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ผลมีชั้นของกลีบเลี้ยงหุ้มอยู่ ผลมีสีเขียว เมื่อผลแก่จัดจะมีสีน้ำตาล
เมล็ด : มี 1-3 เมล็ดใน 1 ผล ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไข่ มีขนาดกว้างประมาณ 0.4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 0.6 เซนติเมตร
ฤดูการออกดอกและติดผล : ออกดอกช่วงเดือนมิถุนายน – กันยายน ติดผลช่วงเดือนกรกฎาคม – ตุลาคม
เขตการกระจายพันธุ์ : พบทั่วไปตามป่าผลัดใบทางภาคเหนือที่ระดับความสูง 500 เมตร
การใช้ประโยชน์ : ไม้สักให้เนื้อไม้ทนทาน สวยงาม ใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน ต่อเรือ รถ แกะสลัก เครื่องมือ กสิกรรม