ชื่อพรรณไม้ (ท้องถิ่น) : สำโรง samrong (Ceentral, Eastern); โหมโรง hom rong (Peninsular); มะโรง/มะโหรง ma rong (Pattani); จำมะโฮง cham ma hong (Chiang Mai)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sterculia foetida L.
ชื่อพ้อง : Clompanus foetida (L.) Kuntze
ชื่อสามัญ : Bastard poon, Java olive, Pinari, Skunk tree
วงศ์ : Malvaceae
ตำแหน่งที่พบ (ระบุพิกัด GPS) : ละติจูด 13.818873 ˚N ลองจิจูด 100.040604˚E
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะวิสัย (habit) : ไม้ต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบ
ลำต้น : ความสูง 15-20 เมตร เปลือกลำต้นค่อนข้างเรียบและหนา สีเปลือกสีน้ำตาลอมเทาหรือสีเทา ไม่พบน้ำยาง
ใบ : ใบประกอบแบบฝ่ามือ ออกเรียงเวียนสลับ ใบย่อยมีประมาณ 7-8 ใบ ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปรีแกมขอบขนาน ฐานใบหรือโคนใบเป็นรูปลิ่ม ปลายใบมีติ่งแหลม ขอบใบเรียบ ขนาดของใบบกว้าง 3.5-6 เซนติเมตร ยาว 10-30 เซนติเมตร แผ่นใบหนา ผิวใบเรียบไม่มีขนปกคลุม ใบมีสีเขียวหลังใบมีสีเข้มกว่าท้องใบ เส้นใบเป็นแบบร่างแห
ดอก : ดอกช่อแบบแยกแขนง ดอกจะออกตามปลายกิ่งหรือตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีสีส้มแดง กลิ่นเหม็นเอียน
ลักษณะกลีบเลี้ยง : มี 5 กลีบ แต่ละกลีบเชื่อมติดกันแต่ปลายกลีบจะแยกเป็น 5 แฉก สีกลีบเลี้ยงด้านนอกมีสีเขียมแกมแดง ด้านในมีสีส้มแดง มีขนละเอียดปกคลุม ดอกมีขนาดกว้าง 2-2.5 เซนติเมตร
ลักษณะกลีบดอก : ไม่มีกลีบดอก
เกสรตัวผู้ : มี 12-14 อัน ก้านชูอับเรณูสั้นมาก
เกสรตัวเมีย : มีจำนวน 2-5 อัน แต่ละอันเชื่อมติดกับก้านเกสรเพศเมีย
ผล : ผลกลุ่ม กลุ่มหนึ่งๆมีประมาณ 2-5 ผล ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่มีสีน้ำตาลแดงหรือสีแดงอมส้ม เมื่อแห้งแล้วแตกตามแนวร่องเป็น 2 ซีก ผลมีขนาดใหญ่กว้าง 6-9 เซนติเมตร ยาว 8-10 เซนติเมตร
เมล็ด : มีจำนวนมาก 12-13 เมล็ดต่อ 1 ผล ลักษณะเมล็ดกลมรี สีดำ ขนาดกว้าง 1.3-1.5 เซนติเมตร ยาว 2.5 เซนติเมตร
ฤดูการออกดอกและติดผล : ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม และติดผลช่วงเดือนมกราคม-เดือนเมษายน
เขตการกระจายพันธุ์ : ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และตามป่าโปร่งทั่วไป ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100-600 เมตร
การใช้ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับ เนื้อไม้นำมาใช้ในการก่อสร้าง ทำเป็นไม้อัด ก้านไม้ขีดไฟ น้ำมันจากเมล็ดสามารถนำมาประกอบอาหารได้