ชื่อพรรณไม้ (ท้องถิ่น) : อินทนิลน้ำ inthanin nam (Central, Peninsular), ฉ่วงมู chuang-mu, ฉ่องพนา chong-pha-na (Karen-Kanchanaburi); ตะแบกดำ ta baek dam (Bangkok); บางอบะซา ba-ngo-ba-sa (Narathiwat); บาเย ba-ye (Malay Pattani); อินทนิล inthanin.
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagerstroemia speciosa (L.) Pers.
ชื่อพ้อง : Lagerstroemia speciosa var. intermedia (Koehne) Furtado & Montien
ชื่อสามัญ : Pride of India, Queen’s crape myrtle.
วงศ์ : Lythraceae
ตำแหน่งที่พบ (ระบุพิกัด GPS) : ละติจูด 13.819474˚N ลองจิจูด 100.04119˚E
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะวิสัย (habit) : ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เป็นไม้ผลัดใบ
ลำต้น : ลำต้นสูง 10-20 เมตร เปลือกลำต้นค่อนข้างเรียบไม่แตกเป็นร่อง สีเปลือกมีสีเทาหรือน้ำตาล เปลือกด้านในมีสีม่วง ไม่พบน้ำยาง
ใบ : ใบเดี่ยว การเรียงตัวของใบเป็นแบบตรงข้าม ลักษณะของใบเป็นรูปทรงขอบขนาน ฐานหรือโคนใบเป็นรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ หรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ส่วนปลายใบเรียวเป็นติ่งแหลม ขนาดของใบมีความกว้าง 8-10 เซนติเมตร และยาว 18-20 เซนติเมตร เส้นใบเป็นร่างแห ไม่มีขนปกคลุม สีใบอ่อนมีสีเขียวอมเหลือง ใบที่เจริญเต็มที่สีเขียวเข้ม ท้องใบจะมีสีอ่อนกว่าหลังใบ
ดอก : ดอกช่อแบบกระจะ ดอกขนาดใหญ่มีสีม่วงอมชมพูหรือม่วง ช่อดอกยาว 30 เซนติเมตร ออกดอกที่ปลายกิ่ง
ลักษณะกลีบเลี้ยง : กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันมีลักษณะคล้ายรูปถ้วย บริเวณปลายกลีบเลี้ยงแยกออกเป็นแฉก 6 แฉกมองดูคล้ายแฉกรูปดาว ด้านในกลีบเลี้ยงมีสีขาวหรือขาวอมชมพู ด้านนอกมีสีน้ำตาลอ่อน มีขนสั้นๆปกคลุม
ลักษณะกลีบดอก : กลีบดอกบาง มี 6 กลีบ เรียงสลับกับแฉกของกลีบเลี้ยง โคนกลีบดอกมีลักษณะเรียวยาวหรือเป็นก้านยาว ปลายกลีบแผ่กว้าง ผิวกลีบเป็นคลื่นเล็กน้อย เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีรัศมีความกว้าง 5 เซนติเมตร
เกสรตัวผู้ : มีจำนวนมาก ขนาดความยาวใกล้เคียงกัน อับเรณูมีสีเหลือง
เกสรตัวเมีย : มีเพียง 1 ไม่มีขนปกคลุม
ผล : มีขนาดใหญ่ กลมรี ไม่มีขนปกคลุม ผิวเรียบ ขนาดของผลกว้าง 1.5 – 2.0 เซนติเมตร ยาว 2.0 – 2.5 เซนติเมตร สีของผลมีสีน้ำตาลแดง เป็นผลแห้งเมื่อแก่แล้วจะแตก โดยแตกบริเวณ locule เรียกว่า loculicida capsule
เมล็ด : เมื่อผลแห้งแล้วแตกภายในมีเมล็ดจำนวนมาก สีน้ำตาล เมล็ดมีปีกเพื่ออาศัยลมในการกระจายพันธุ์
ฤดูการออกดอกและติดผล : ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม – มิถุนายน แล้วจะติดผล ผลจะแก่ในช่วงเดือนตุลาคม – ธันวาคม
การใช้ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้ถนน เนื้อไม้มาใช้ในงานก่อสร้าง รากนำมาใช้ทำเป็นยาสมานท้อง ใบนำมาต้มเพื่อใช้แก้โรคเบาหวาน
ภาพประกอบ ดอก จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Lagerstroemia_speciosa#/media/File:Jarul.jpg